แบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

แบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
LEADERSHIP STYLES AFFECTING ACADEMIC ADMINISTRATION COMPETENCIES OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF ROI ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3

Address: ร้อยเอ็ด
Organization : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำและสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู และ 2) สร้างสมการพยากรณ์แบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่างคือ ครู จำนวน 323 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายแบบ ภาวะผู้นำ พบว่ามีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมากทุกแบบ 2. ระดับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็น ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีสมรรถนะการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. การสร้างสมการพยากรณ์ แบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่า ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ (X4) เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์สมรรถนะการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาได้ดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .743 และมีอำนาจของการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 55.3 เมื่อเพิ่ม ตัวแปรพยากรณ์ภาวะผู้นำแบบสั่งการ (X1) ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน (X2) และภาวะผู้นำแบบ มีส่วนร่วม (X3) โดยตัวแปรพยากรณ์ทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสมรรถนะ การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 3 ได้ร้อยละ 66.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยใน รูปคะแนนดิบ เท่ากับ .336, .364, .166, .178 และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ .328, .269, .181, .184 ตามลำดับ สมการพยากรณ์เขียนได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y' = -.254+.336(X4) + .364(X1) + .166(X2) + .178(X3) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z' y = .328Zx4 + .269 Zx1+ .181 Zx2 + .184 Zx3
Abstract: The purposes of this research were 1) to study levels of leadership and academic administration competencies of school administrators according to perceptions of teachers and 2) to construct a predictive equation of leadership styles affecting academic administration competencies of school administrators under the Office of Roi Et Primary Educational Service Area 3. The sample group was 323 teachers derived from stratified random sampling and simple random sampling. The research instrument for data collection was a five–point rating scale questionnaire. The statistical analysis of data included frequency, percentage, mean, and standard deviation. To test the hypothesis of this study, the stepwise multiple regression analysis was done. The research results are as follows: 1. The overall level of leadership of the school administrators under the Office of Roi Et Primary Educational Service Area 3 was “high.” Likewise, the levels of their separated leadership styles were “high.” 2. The overall level of academic administration competencies of the school administrators was “high.” Also, the levels of their academic administration competencies in all aspects were “high.” 3. Based on the constructed predictive equation of leadership styles which affected academic administration competencies of the school administrators under the Office of Roi Et Primary Educational Service Area 3, it was found that the achievement oriented leadership style (X4) was the best predictor of academic administration competencies with a statistical significant level of .01, the multiple regression correlation (R) of .743, and the power of prediction of 55.3 percent. However, when the other predictors such as directive leadership style (X1), supportive leadership style (X2), and participative leadership style (X3) were added, it was discovered that these predictors could mutually explain the variance of academic administration competencies of the school administrators with a percentage of 66.7 and a statistical significant level of .01. The coefficients of regression equation of the added predictors in the form of raw score were .336, .364, .166, and .178 respectively and the coefficients in the form of standard score were .328, .269, .181, and .184 respectively. The predictive equations were as follows: The predictive equation in the form of raw scores Y’ = -.254 + .336(X4) + .364(X1) + .166(X2) + .178(X3) The predictive equation in the form of standard scores Z' y = .328Zx4 + .269 Zx1+ .181 Zx2 + .184 Zx3
ROI ET RAJABHAT UNIVERSITY. ACADEMIC RESOURCE CENTER.


นิรมล พันศรี (2558) แบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3.

ความคิดเห็น